เมนู

[อาการ 10 แห่งการรื้อ]


หลายบทว่า ตตฺถชาตกํ อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ มีความว่า ในวัดใด
มีอธิกรณ์ เพื่อต้องการบริกขารมีบาตรและจีวรเป็นต้นเกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า
บาตรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, จีวรของข้าพเจ้า ภิกษุนี้ถือเอาเสีย, พวก
ภิกษุเจ้าอาวาสประชุมกันในวัดนั้นเอง ไกล่เกลี่ยพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน
ให้ยินยอมว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ แล้วให้อธิกรณ์ระงับ ด้วยวินิจฉัยนอกบาลี
แท้ ๆ. นี้ชื่อว่าอธิกรณ์เกิดในที่นั้น อธิกรณ์นั้นระงับแล้ว เฉพาะด้วยวินิจฉัย
แม้ใด วินิจฉัยแม้นั้น เป็นสมถะอันหนึ่งแท้. เป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้อ
อธิกรณ์นี้.
สองบทว่า ตตฺถชาตกํ วูปสนฺตํ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เจ้าถิ่น ไม่สามารถให้อธิกรณ์นั้นระงับได้ไซร้. ทีนั้น ภิกษุอื่นเป็นพระเถระ
ผู้ทรงวินัยมาถามว่า อาวุโส ทำไมอุโบสถหรือปวารณาในวัดนี้ จึงงดเสีย ?
และเมื่อภิกษุเหล่านั้นเล่าอธิกรณ์นั้นแล้ว จึงวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ด้วยสูตร โดย
ขันธกะและบริวาร ให้ระงับเสีย. อธิกรณ์นี้ ชื่อว่าเกิดในที่นั้นระงับแล้ว.
คงเป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.
บทว่า อนฺตรามคฺเค มีความว่า หากว่า ภิกษุผู้เป็นข้าศึกแก่ตน
เหล่านั้นกล่าวว่า เราไม่ยอมตกลงในคำตัดสินของพระเถระนี้ พระเถระนี้
ไม่ฉลาดในวินัย พระเถระทั้งหลาย ผู้ทรงวินัยอยู่ ในบ้านชื่อโน้น เราจักไป
ตัดสินกันที่บ้านนั้น ดั่งนี้ กำลังไปกัน ในระหว่างทางนั่นเอง กำหนดเหตุได้
จึงตกลงกันเสียเอง หรือภิกษุเหล่าอื่น ยังภิกษุเหล่านั้นให้ตกลงกันได้ อธิกรณ์
แม้นี้ เป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ในระหว่างทางที่ระงับอย่างนี้ คง
เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.

สองบทว่า อนฺตรามคฺเค วูปสนฺตํ มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์
เป็นอันระงับ ด้วยความยินยอมกะกันและกันเอง หรือด้วยการที่ภิกษุผู้เป็น
สภาคกันให้ตกลงกันเสีย หามิได้เลย.
ก็แต่ว่า พระวินัยธรรูปหนึ่งเดินสวนทางมา เห็นแล้วถามว่า ผู้มีอายุ
พวกท่านจะไปไหนกัน ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไปบ้านชื่อโน้น ด้วยเหตุ
ชื่อนี้ จึงกล่าวว่า อย่าเลยผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยไปที่นั้น ? แล้ว
ยังอธิกรณ์นั้น ให้ระงับ โดยธรรม โดยวินัย ในที่นั้นเอง นี้ชื่อว่าอธิกรณ์
ระงับในระหว่างทาง. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุผู้รื้ออธิกรณ์นั่น.
สองบทว่า ตตฺถ คตํ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้น แม้อัน
พระวินัยธรกล่าวอยู่ว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ จะมีประโยชน์อะไรด้วยไปที่นั่น ?
ตอบว่า เราจักไปให้ถึงการตัดสินในที่นั้นเอง ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของพระวินัยธร
คงไปจนได้ ครั้นไปแล้ว บอกเนื้อความนั่น แก่พวกภิกษุผู้เป็นสภาคกัน.
สภาคภิกษุทั้งหลายห้ามปรามว่า อย่าเลย ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า การประชุมสงฆ์
เป็นการหนักแล้ว ให้พากันนั่งวินิจฉัยให้ตกลงกันในที่นั่นเอง. อธิกรณ์แม้นี้
ย่อมเป็นอันระงับแท้. ภิกษุใดรื้ออธิกรณ์ไปในที่นั้น ซึ่งระงับแล้วอย่างนี้ คง
เป็นปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.
หลายบทว่า ตตฺถ คตํ วูปสนฺตํ มีความว่า อนึ่ง อธิกรณ์นั้น
เป็นอันระงับ ด้วยกิริยาที่ให้ตกลงกันของสภาคภิกษุทั้งหลายก็หามิได้แล.
ก็แต่ว่า พระวินัยธรทั้งหลาย ให้ระงับอธิกรณ์นั้นซึ่งให้ประชุมสงฆ์
บอกในท่ามกลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าอธิกรณ์ไปในที่นั้นระงับแล้ว. คงเป็นปาจิตตีย์
แม้แก่ภิกษุผู้รี้ออธิกรณ์นั้น.

บทว่า สติวินัยํ มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รื้อสติวินัยอัน
สงฆ์ให้แล้วแก่พระขีณาสพ.
ในอมูฬหวินัย ที่สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้บ้าก็ดี ในตัสสปาปิยสิกาอันสงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่นก็ดี มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า ติณวตฺถารกํ อุกฺโกถเฏติ มีความว่า เมื่ออธิกรณ์อัน
สงฆ์ระงับแล้ว ด้วยติณวัตถารกสมถะ ธรรมดาอาบัติ ที่ภิกษุเข้าไปหาภิกษุ
รูปหนึ่งนั่งกระโหย่งประณมมือแสดงเสีย ชื่อว่าย่อมออก.
ก็ภิกษุแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการออกจากอาบัติ แม้ของภิกษุผู้
หลับอยู่ นี้ใด การออกจากอาบัตินั่น ไม่ชอบใจข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่ารื้อติณ-
วัตถารกะ. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุนั้น.

[ว่าด้วยองค์ 4 เป็นเหตุรื้ออธิกรณ์]


หลายบทว่า ฉนฺทาคตึ ฯ เป ฯ คจฺฉนฺโต อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ
มีความว่า ภิกษุเป็นพระวินัยธร เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิ-
กรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยอาการรื้อ 12 อย่าง ๆ ใดอย่าง
หนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ชนที่รักมีอุปัชฌาย์เป็นต้นของตน ชื่อว่าถึงฉันทาคติ
รื้ออธิกรณ์.
ก็ในภิกษุผู้เป็นข้าศึกกัน 2 รูป ภิกษุผู้มีอาฆาตในฝ่ายหนึ่งเกิดขึ้นโดย
นัยเป็นต้นว่า เขาได้ประพฤติความฉิบหายแก่เรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม
เป็นต้น รื้ออธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยการรื้อ 12 อย่าง ๆ
ใดอย่างหนึ่ง เพื่อยกความแพ้ให้แก่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนั้น ชื่อว่าถึงโทสาคติ รื้อ
อธิกรณ์.